วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หน่วยที่ 4 บุคคลสำคัญ

          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว






     พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๔ และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงได้รับการศึกษาขั้นต้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อพระชนมายุ ๑๓ พรรษา ทรงเป็นกรมขุนพินิตประชานาถ เสวยราชย์เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑
ขณะมีพระชนมพรรษาเพียง ๑๕ พรรษา โดยมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน จนถึง พ.ศ. ๒๔๑๖ ทรงบรรลุนิติภาวะ พระชนมพรรษาครบ ๒๐ พรรษา จึงมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ ทรงครองราชสมบัติยาวนานถึง ๔๒ ปี สวรรคตเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓


     พระราชกรณียกิจที่สำคัญ


เพื่อให้ไทยเจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศและรอดพ้นจากภัยจักรวรรดินิยมที่กำลังคุกคามภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ขณะนั้น รัชกาลที่ 5 ทรงพัฒนาและปรับปรุงประเทศทุกด้าน เช่น
การปกครอง
ทรงปฏิรูปการปกครองใหม่ตามอย่างตะวันตก แยกการปกครองออกเป็น 3 ส่วน คือการปกครองส่วนกลาง แบ่งเป็นกระทรวงต่างๆ การปกครองส่วนภูมิภาคโดยระบบเทศาภิบาลและการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปสุขาภิบาล กฎหมายและการศาล
ให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมรับผิดชอบศาลยุติธรรม เป็นการแยกอำนาจตุลาการออกจากฝ่ายบริหารเป็นครั้งแรก ยกเลิกจารีตนครบาล
ที่ใช้วิธีโหดร้ายทารุณในการไต่สวนคดีความ ตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้น และประกาศใช้ประมวลกฎหมายลักษณะอาญาอันเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย การปรับปรุงกฎหมายและการศาลนี้เป็นลู่ทางที่ทำให้ประเทศไทยสามารถแก้ปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตได้ในภายหลัง
สังคมและวัฒนธรรม
ทรงยกเลิกระบบทาสและระบบไพร่ ให้ประชาชนมีอิสระในการดำรงชีวิต ยกเลิกประเพณีที่ล้าสมัย และรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา
การเงิน การธนาคารและการคลัง
ผลจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทำให้เศรษฐกิจการค้าขยายตัว มีชาวต่างประเทศเข้ามาทำกิจการในประเทศไทยมากขึ้น รัชกาลที่ ๕ จึงให้ออกใช้ธนบัตรและมีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่แน่นอนเป็นครั้งแรก ทรงอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ของต่างประเทศเข้ามาตั้งสาขาและสนับสนุนให้คนไทยตั้งธนาคารพาณิชย์ขึ้น ในด้านการคลัง มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรก และปรับปรุงระบบจัดเก็บภาษีอากรให้มีประสิทธิภาพขึ้น
สาธารณูปโภค
ทรงให้สร้างถนนเพิ่มเติม ขุดคลองใหม่และลอกคลองเดิม เพื่อใช้ในการคมนาคมและขยายพื้นที่เพาะปลูก ทรงริเริ่มให้จัดกิจการสาธารณูปโภคหลายอย่างขึ้นเป็นครั้งแรก เช่น รถไฟ รถราง โทรเลข ไปรษณีย์ โทรศัพท์ ไฟฟ้า ประปา การ
แพทย์และการสาธารณสุข
ทรงปรับปรุงกิจการด้านนี้ให้เป็นแบบสมัยใหม่ เช่น ตั้งโรงพยาบาลวังหลัง (ศิริราช) สภาอุณาโลมแดง (สภากาชาดไทย) กรมสุขาภิบาล โรงเรียนสอนแพทย์ โรงเรียนผดุงครรภ์และพยาบาล เป็นต้น
การศึกษา
มีการสร้างโรงเรียนหลวง เพื่อให้การศึกษาแก่ราษฎรและทรงส่งพระราชโอรสและพระบรมวงศานุวงศ์ไปศึกษาต่างประเทศ จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาก็เพื่อฝึกคนให้มีความรู้สำหรับเข้ารับราชการ
การศาสนา
โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองสงฆ์ จัดตั้งสถานศึกษาสงฆ์ คือ มหามกุฏราชวิทยาลัย และให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก
การทหาร
ทรงปรับปรุงหน่วยทหารและอาวุธยุทธภัณฑ์ให้ทันสมัย ตั้งกรมยุทธนาธิการซึ่งภายหลังเปลี่ยนเป็นกระทรวงกลาโหม ตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบก โรงเรียนนายเรือ และตราพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหารขึ้นใช้เป็นครั้งแรก
ในการปรับปรุงพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ เนื่องจากในขณะนั้นคนไทยมีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิทยาการสมัยใหม่ยังมีน้อย รัชกาลที่ ๕ จึงต้องทรงจ้างชาวต่างประเทศเข้ามาเป็นที่ปรึกษาและรับราชการเป็นจำนวนมาก ส่งวนใหญ่เป็นชาวตะวันตก เช่น อังกฤษ อเมริกัน เยอรมัน ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก ที่เป็นชาวตะวันออกก็มีอยู่บ้าง เช่น ญี่ปุ่น ลังกา ปรากฏว่าชาวต่างประเทศที่จ้างมาทำงานได้ผลดีสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก บางคนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นถึงพระยา เจ้าพระยานอกจากนี้รัชกาลที่ 5 ยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศ โดยได้เสด็จประพาสสิงคโปร์ของอังกฤษและเกาะชวาอาณานิคมของฮอลันดา ต่อมาเสด็จประพาสอินเดียซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ทรงนำความเจริญของดินแดนเหล่านี้มาประกอบในการพัฒนาประเทศไทย
ใน พ.ศ. ๒๔๔๐ รัชกาลที่ ๑ เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๑ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่าง ๆ กว่า ๑๐ ประเทศ เป็นผลดีต่อฐานะของประเทศไทยในสังคมระหว่างประเทศ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๔๙ ๒ - ๒๔๕๐ ได้เสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งที่ ๒ เพื่อเยี่ยมพระราชโอรสที่ศึกษาอยู่ในประเทศต่างๆ และรักษาพระองค์ตามที่แพทย์ถวายคำแนะนำ ในโอกาสเดียวกันทรงได้เจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมืองกับประเทศต่าง ๆ ด้วย แม้ว่ารัชกาลที่ ๕ จะทรงพัฒนาประเทศทุก ๆ ด้าน และพยายามผูกมิตรกับประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ แต่ประเทศไทยก็ยังไม่อาจรอดพ้นภัยจากลัทธิล่าอาณานิคมโดยสิ้นเชิง ดังเช่นเกิดพิพาทกับฝรั่งเศสจนถึงขั้นปะทะกันที่ปากน้ำ สมุทรปราการ ซึ่งเรียกว่าเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) เป็นต้น รัชกาลที่ ๕ ต้องทรงยอมเสียดินแดนบางส่วนให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษ เพื่อรักษาเอกราชและดินแดนส่วนใหญ่ไว้ ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นอาณานิคมเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระกรุณาธิคุณต่อประชาชนชาวไทยและประเทศไทยอย่างใหญ่หลวง จึงทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า พระปิยมหาราช อันหมายถึงว่า ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย และในโอกาสครบรอบ ๑๕๐ พรรษาแห่งวันคล้ายวันพระราชสมภพ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ได้ประกาศยกย่องให้พระองค์เป็นบุคคลสำคัญและมีผลงานดีเด่นของโลกทางสาขาการศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ มานุษยวิทยา การพัฒนาสังคมและสื่อสาร

หน่วยที่ 3 มามีส่วนร่วมกัน!

การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยสามารถปฏิบัติได้หลายวิธีดังต่อไปนี้
          1. จัดให้มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยจากคนรุ่นเก่าสู่คนรู่นใหม่ เช่น การอนุรักษ์เพลงพื้นบ้านทั้งลำตัด เพลงฉ่อย เพลงเรือ ด้วยการจัดชมรมประจำท้องถิ่น หรือการเชิญพ่อเพลงแม่เพลงในชุมชนมาถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนรุ่นหลัง หรือจัดกิจกรรมขึ้นในโรงเรียน เป็นต้น
         2. เปลี่ยนแปลงค่านิยมของคนในสังคมที่ละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทย เช่น ควรส่งเสริมการศึกษาและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากสมุนไพรไทย เช่น ที่โรงพยาบาลอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี ได้นำสมุนไพรต่าง ๆ มาสกัดเป็นยารักษาโรค เครื่องสำอาง ขายให้กับประชาชนทั้วไป เป็นต้น
          3. ร่วมกันทำให้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันอย่างแท้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงการจัดแสดงหรือรณรงค์เป็นบางช่วงเท่านั้น เช่น บางท้องถิ่น บางหน่วยงานรณรงค์ให้คนในท้องถิ่นหรือในหน่วยงานแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ตัดเย็บจากผ้าพื้นเมือง ก็ควรหาแบบเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับคนทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ ราคาย่อมเยา ไม่ควรให้คนรุ่นใหม่คิดว่าการแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมืองเป็นความเชย ดูแลรักษายาก ราคาแพง และเป็นเครื่องแต่งกายเฉพาะผู้สูงอายุหรือใช้แต่งเฉพาะเวลามีงานสำคัญเท่านั้น
          4. สร้างจิตสำนึกให้คนไทยเห็นคุณค่าและร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย เช่น ส่งเสริมและปลูกฝังให้เยาวชนรักษากิริยามารยาทแบบไทย เช่น มีสัมมาคารวะ เคารพผู้ใหญ่ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน และรักนวลสงวนตัว รวมทั้งส่งเสริมให้ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องทั้งการพูดและการเขียน เช่น รณรงค์ให้พูดออกเสียงภาษาไทยให้ชัดเจน ไม่พูดภาษาไทยปนภาษาอังกฤษ เป็นต้น

การอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย

        1. การค้นคว้าวิจัย ควรศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาของไทยในด้านต่างๆ ของท้องถิ่น จังหวัด ภูมิภาค และประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น มุ่งศึกษาให้รู้ความเป็นมาในอดีต และสภาพการณ์ในปัจจุบัน
        2. การอนุรักษ์ โดยการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ สร้างจิตสำนึกของความเป็นคนท้องถิ่นนั้นๆ ที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น รวมทั้งสนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น เพื่อแสดงสภาพชีวิตและความเป็นมาของชุมชน อันจะสร้างความรู้และความภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นด้วย
        3. การฟื้นฟู โดยการเลือกสรรภูมิปัญญาที่กำลังสูญหาย หรือที่สูญหายไปแล้วมาทำให้มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นฐานทางจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม
        4. การพัฒนา ควรริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นพื้นฐานในการรวมกลุ่มการพัฒนาอาชีพควรนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อต่อยอดใช้ในการผลิต การตลาด และการบริหาร ตลอดจนการป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
       5. การถ่ายทอด โดยการนำภูมิปัญญาที่ผ่านมาเลือกสรรกลั่นกรองด้วยเหตุและผลอย่างรอบคอบและรอบด้าน แล้วไปถ่ายทอดให้คนในสังคมได้รับรู้ เกิดความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่า คุณประโยชน์และปฎิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ
       6. ส่งเสริมกิจกรรม โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาของชุมชนต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
      7. การเผยแพร่แลกเปลี่ยน โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง โดยให้มีการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ ด้วยสื่อและวิธีการต่างๆ อย่างกว้างขวาง รวมทั้งกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
       8. การเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของชาวบ้าน ผู้ดำเนินงานให้มีโอกาสแสดงศักยภาพด้านภูมิปัญญา ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ มีการยกย่องประกาศเกียรติคุณในลักษณะต่างๆ

หน่วยที่ 2 เบ้าหลอมวัฒนธรรม

วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย

          การติดต่อกับชาวต่างชาติของคนไทยในยุคสมัยต่าง ๆ มีผลต่อสังคมไทยหลายด้าน  วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย  โดยวัฒนธรรมบางอย่างได้ถูกปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและประเพณีดั้งเดิม ของคนไทย  ขณะที่วัฒนธรรมบางอย่างรับมาใช้โดยตรง   
1.  วัฒนธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
          อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกต่อสังคมไทยมีมาตั้งแต่ก่อนการตั้งอาณาจักรของคน ไทย  เช่น  สุโขทัย  ล้านนา  ซึ่งมีทั้งวัฒนธรรมที่รับจากอินเดีย  จีน  เปอร์เซีย  เพื่อนบ้าน  เช่น  เขมร  มอญ  พม่า  โดยผ่านการติดต่อค้าขาย  การรับราชการของชาวต่างชาติ  การทูต  และการทำสงคราม
          สำหรับตัวอย่างอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกที่มีต่อสังคมไทยมีดังนี้
                    1.  ด้านอักษรศาสตร์  เช่น  ภาษาไทยที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากภาษาขอม  รับภาษาบาลี  ภาษาสันสกฤตจากหลายทางทั้งผ่านพระพุทธศาสนา  ผ่านศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  จากอินเดีย  เขมร  นอกจากนี้  ในปัจจุบันภาษาจีน  ญี่ปุ่น  เกาหลี  ก็ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น
                    2.  ด้านกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมายอินเดีย  ได้แก่  คัมภีร์พระธรรมศาสตร์  โดยรับผ่านมาจากหัวเมืองมอญอีกต่อหนึ่ง  และกลายเป็นหลักของกฎหมายไทยสมัยอยุธยาและใช้มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
                    3.  ด้านศาสนา  พระพุทธศาสนาเผยแผ่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยมาเป็นเวลายาวนานแล้ว  ดังจะเห็นได้จากแว่นแคว้นโบราณ  เช่น  ทวารวดี  หริภุญชัยได้นับถือพระพุทธศาสนา  หรือสุโขทัย  รับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชและได้ถ่ายทอดให้แก่อาณาจักรอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของคนไทยตลอดมา  นอกจากนี้  คนไทยยังได้รับอิทธิพลในการนับถือศาสนาอิสลามที่พ่อค้าชาวมุสลิมนำมาเผยแผ่  รวมทั้งคริสต์ศาสนาที่คณะมิชชันนารีนำเข้ามาเผยแผ่ในเมืองไทยนับตั้งแต่สมัย อยุธยาเป็นต้นมา
                    4.  ด้านวรรณกรรม  ในสมัยอยุธยาได้รับวรรณกรรมเรื่องรามเกรียรติ์  มาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย  เรื่องอิเหนาจากชวา  ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมจีน  เช่น  สามก๊ก  ไซอิ๋ว  วรรณกรรมของชาติอื่น ๆ เช่น  ราชาธิราชของชาวมอญ  อาหรับราตรีของเปอร์เซีย  เป็นต้น
                    5.  ด้านศิลปวิทยาการ  เช่น    เชื่อกันว่าชาวสุโขทัยได้รับวิธีการทำเครื่องสังคโลกมาจากช่างชาวจีน  รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาจากอินเดีย  ศรีลังกา
                    6.  ด้วยวิถีการดำเนินชีวิต  เช่น   คนไทยสมัยก่อนนิยมกินหมากพลู  รับวิธีการปรุงอาหารที่ใส่เครื่องแกง  เครื่องเทศจากอินเดีย  รับวิธีการปรุงอาหารแบบผัด  การใช้กะทะ  การใช้น้ำมันจากจีน  ในด้านการแต่งกาย  คนไทยสมัยก่อนนุ่งโจงกระเบนแบบชาวอินเดีย  เป็นต้น

2.  วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
          ไทยได้รับวัฒนธรรมตะวันตกหลายด้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  ในระยะแรกเป็นความก้าวหน้าด้านการทหาร  สถาปัตยกรรม  ศิลปวิทยาการ  ในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 3  เป็นต้นมา  คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น  ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน
          ดัวอย่างวัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้
                    1.  ด้านการทหาร  เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา  โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้  มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก  เช่น  ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา  ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส  ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำ ปรึกษาด้านการทหาร  มีการตั้งโรงเรียนนายร้อย  การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก
                    2.  ด้ารการศึกษา  ในสมัยรัชกาลที่ 3  มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง  เช่น  พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก  ในสมัยรัชกาลที่ 4  ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก
                    ในสมัยรัชการลที่ 5  มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่  ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่  ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศต่าง ๆ เช่น  โรงเรียนแพทย์  โรงเรียนกฎหมาย  ในสมัยรัชกาลที่ 6  มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                    3.  ด้านวิทยาการ  เช่น  ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถ คำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง  ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่  ซึ่งเริ่มในสม้ยรัชกาลที่ 3  ในสมัยรัชกาลที่ 5  มีการจัดตั้งโรงพยาบาล  โรงเรียนฝึกหัดแพทย์และพยาบาล  ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้นฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทย ในปัจจุบัน
                    ด้านการพิมพ์  เริ่มจากการพิมพ์หนังสือพิมพ์รายปักษ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2387  ชื่อ  "บางกอกรีคอร์เดอร์"  การพิมพ์หนังสือทำให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายมากขึ้น  ในด้านการสื่อสารคมนาคม  เช่น  การสร้างถนน  สะพาน  โทรทัศน์  โทรศัพท์  กล้องถ่ายรูป  รถยนต์  รถไฟฟ้า  เครื่องคอมพิวเตอร์  เป็นต้น  ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่คนไทยเป็นอย่างมาก
                    4.  ด้านแนวคิดแบบตะวันตก  การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง  เช่น  ประชาธิปไตย  คอมมิวนิสต์  สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย  และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง  นอกจากนี้  วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมากก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการประพันธ์ จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว  และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมไทย  เช่น  การเข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย  เช่น  งานเขียนของดอกไม้สด  ศรีบูรพา
                    5.  ด้านวิถีการดำเนินชีวิต  การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้  ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป  เช่น  การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ  การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น  การใช้เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก  การปลูกสร้างพระราชวัง  อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก  ตลอดจนนำกีฬาของชาวตะวันตก  เช่น  ฟุตบอล  กอล์ฟ  เข้ามาเผยแพร่  เป็นต้น


อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่มีต่อสังคมไทย
        วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่มั่นคงที่หรือใช้เฉพาะในสังคมหนึ่งเท่านั้น  ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการขนส่งคมนาคม  ทำให้การเผยแพร่่วัฒนธรรมกระทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นกระบวนการนี้เรียกว่า  การเผยแพร่วัฒนธรรมกระทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นกระบวนการนี้เรียกว่า การเผยแพร่หรือการกระจายทางวัฒนธรรม(Cultural Diffusion)
    หลังการปฏิวััติอุตสาหกรรมในยุโรป  ทำให้ชนชาติเหล่านั้นแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมในทวีปเอเชีย
ด้วยแล้ว  สังคมไทยก็ตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มชาวยุโรป  โดยเฉพาะอังกฤษ ฝรั่งเศส และอิทธิพลของวัฒนธรรม ตะวันตกก็ยังคงต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยสาเหตุต่อไปนี้ 

1. ความเจริญทางด้านการคมนาคมขนส่ง ทำให้การเดินทางสะดวก การเผยแพร่วัฒนธรรมจะเร็วขึ้น 

การเจริญทางด้านการคมนาคมขนส่ง 
  2. อิทธิพลจากสื่อมวลชนต่าง ๆ เช่น  ภาพยนตร์ โทรทัศน์ หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์อื่น ๆ
      3. การเผยแพร่วัฒนธรรมโดยตรง คือ ประเทศต่าง ๆ ส่งคนเข้่ามาเผยแพร่ หรือจากการออกไปศึกษา
เล่าเรียน  เมื่อกลับมาแล้วก็นำวัฒนธรรมนั้นมาเผยแพร่

  
อิทธิพลจากสื่อมวลชนต่าง ๆ 
อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติในสังคม แยกเป็นด้านต่าง ๆ นี้
       1. ทางการศึกษา วัฒนธรรมขอมอินเดีย  เข้ามามีอิทธิพลในสมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา
            - ภาษาตะวันตก เริ่มเข้าสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  เมื่อร้อยเอกเจมส์ โลว์ ชาวอังกฤษคิดตัวพิมพ์ภาษาไทยได้สำเร็จ
            - รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการปฎิรูปการศึกษาและสังคม  มีการตั้งกระทรวงธรรมการ เริ่มมีการจัดการศึกษาแบบตะวันตกตั้งแต่นั้นมา
           - ปัจจุบันระบบการศึกษาของไทยยึดหลักแนวทางจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งด้านปรัชญาการศึกษา เนื้อหา และกระบวนการเรียนการสอน  ส่วนวิทยาการสมัยใหม่  ในวงการศึกษาของไทยรับมาจาก ตะวันตกเป็นส่วนใหญ่

       
2. ทางการเมือง
           -
สมัยสุโขทัยการปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก
           - สมัยกรุงศรีอยุธยา รับอิทธิพลจากขอมและอินเดีย เป็นแบบลัทธิเทวราช กษัตริย์ เป็นสมมติเทพ (ข้ากับเจ้า บ่าวกับนาย)
           - สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีสภาที่ปรึกษา  นับเป็นการเริ่มเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย  จนกระทั่งปีพ.ศ. 2475 จึงเป็นประชาธิปไตยโดยแท้จริง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเทศในยุโรป
       3. ทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบเสรีนิยม หรือทุนนิยม ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากที่สุด
       4. ทางสังคมและวัฒนธรรม อิทธิพลจากต่างชาติทำให้วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนแปลงไป  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นอกเห็นใจมีความอบอุ่นน้อยลง  มีการชิงดีชิงเด่น  ความสัมพันธ์เปลี่ยนเป็นแบบทุติยภูมิ


วัฒนธรรมอินเดียที่มีอธิพลต่อวัฒนธรรมไทย

1. การเมืองการปกครอง กษัตริย์เป็นเทวราชตามศาสนาพราหมณ์   เกิดระบบเจ้าขุนมูลนาย  ส่วนประมวล
กฎหมายพระมนูธรรมศาสตร์ของอินเดียนั้น  เป็นที่มาของกฎหมายตราสามดวงในประเทศไทยและกฎมณเฑียรบาล
         2. ศาสนา ศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนาทำให้เกิดประเพณีต่าง ๆ มากมาย เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ โกนจุก หลักทศพิธราชธรรม
         3. ภาษาและวรรณกรรม รับ ภาษาบาลีและสันสกฤต เพื่อให้เกิดความเจริญงอกงามทางภาษา แต่ไม่ได้ใช้พูด ไม่มีอิทธิพลเหมือนภาษาตะวันตก  วรรณกรรมคือมหากาพย์รามายณะ  มหาภารตยุทธ และพระไตรปิฎก
         4. ศิลปกรรม ส่วนใหญ่เกี่ยวกับศาสนา ได้แก่ การสร้างสถูป เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป จิตรกรรมฝาผนัง  ท่าร่ายรำต่าง ๆ


วัฒนธรรมจีนที่มีอธิพลต่อวัฒนธรรมไทย


        จีนเข้ามาสมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาโดยเข้ามา ค้าขาย ในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์เข้ามาทำมาหากิน ทำให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรมไทยกับจีน  จนกลายเป็นวัฒนธรรมไทย  อิทธิพลวัฒนธรรมจีนต่อวัฒนธรรมไทยได้แก่
         1. ความเชื่อทางศาสนา เป็น การผสมผสาน การบูชาบรรพบุรุษ การนับถือเจ้า ส่วนการไหว้พระจันทร์ เทศกาลกินเจ ชาวไทยเชื้อสายจีนรุ่นใหม่ยอมรับวัฒนธรรมเดิมของจีนน้อยลงทุกที
         2. ด้านศิลปกรรม เครื่องชามสังคโลกเข้ามาในสมัยสุโขทัย
         3. ด้านวรรณกรรม การแปลวรรณกรรมจีนเป็นภาษาไทย  เริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้แก่ สามก๊ก
อำนวยการแปลโดย เจ้าพระยาคลัง (หน) กลายเป็นเพชรน้ำงามแห่งวรรณคดีไทย
         4. วัฒนธรรมอื่น ๆ มี อาหารจีน และ "ขนมจันอับ" ที่กลายเป็นขนมที่มีบทบาทในวัฒนธรรมไทย ใช้ในพิธี ก๋วยเตี๋ยวก็กลายมาเป็นอาหารหลักของไทย  นอกจากนี้ยังมีข้าวต้มกุ๊ย ผัดซีอิ๊ว และซาลาเปา เป็นต้น

วัฒนธรรมชาตินิยมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทย
          

       โปรตุเกส เป็น ชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 นำวัฒนธรรมการทำปืนไฟ การสร้างป้อมต่อต้านปืนไฟ ยุทธวิธีทางการทหาร การทำขี้ผึ้งรักษาแผล การทำขนมฝอยทอง ขนมฝรั่ง  เป็นทหารอาสาสมัยพระชัยราชาธิราช รบกับพม่า 120 คน
        ฮอลันดาเข้ามาสมัยในสมัยพระนเรศรวรมหาราช อาคารที่ฮอลันดาสร้าง ไทยเรียกว่า "ตึกวิลันดา" นำอาวุธปืนมาขาย รวมทั้งเครื่องแก้ว กล้องยาสูบ เครื่องเพชรเครื่องพลอย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ทรงพอพระทัยแว่นตา และกล้องส่องทางไกลจากฮอลันดา
        อังกฤษ เข้ามาในราชสำนักสมัยพระเอกาทศรถ มุ่งทางด้านการค้า แต่สู้ฮอลันดาไม่ได้ เช่น ยอร์ช ไวท์ มีต่ำแหน่งเป็นออกหลวงวิชิตสาคร ส่วน แซมมวล ไวท์ ได้เป็นนายท่าเมืองมะริด
       ฝรั่งเศส เข้ามาสมัยพระนารายณ์มหาราช เพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์ คณะบาทหลวงได้นำความรู้ด้านการแพทย์ การศึกษา การทหาร ดาราศาสตร์ การวางท่อประปา การสร้างหอดูดาวที่ลพบุรีและอื่น ๆ อีกหลายแห่ง
       ในสมัยอยุธยาตอนปลายความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกลดลงและหยุดชะงักไปใน สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตกโดยมีการเปิดสัมพันธ์ทางการทูต เพราะตะหนักถึงภยันตรายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นการป้องกันการแทรกแซงภายใน วัฒนธรรมตะวันตกจึงเริ่มผสมผสานจนเป็นที่ยอมรับและเข้ามามีบทบาทในด้านต่าง ๆ ดังนี้
        1. การเมืองการปกครอง รับเอาประเพณี ค่านิยม วัฒนธรรม เข้ามาในประเทศ เพราะมีพระบรมวงศานุวงศ์ไปเรียนต่างประเทศ มีการปฎิรูปการปกครองแบบชาติตะวันตก ตั้งกระทรวง 12 กระทรวง
        2. เศรษฐกิจ ยกเลิกระบบไพร่ เลิกทาส ใช้เงินตราเป็นตัวกลางในการซื้อขาย ตั้งธนาคารแห่งแรก คือ  บุคคลัภย์ (Book Club) ต่อมาคือธนาคารไทยพาณิชย์
       3. ด้านสังคม เลิกระบบหมอบคลานมาเป็นแสดงความเคารพ ให้นั่งเก้าอี้แทน เปลี่ยนแปลงการแต่งกาย จัดการศึกษาเป็นระบบโรงเรียน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464
การศึกษาขยายถึงระดับมหาวิทยาลัย มีพระราชบัญญัตินามสกุล และคำนำหน้าชื่อ นาย นาง นางสาว เด็กหญิง   เด็กชาย
        สรุปได้ว่า คนไทยมีวัฒนธรรมที่เป็นของตนเองมาตั้งแต่สุโขทัย ซึ่งแสดงออกถึงความเป็นชาติที่มีความรัก ความสามัคคีและสงบสุข อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมไทยก็เหมือนวัฒนธรรมของชนชาติอื่นที่เป็นวัฒนธรรม
แบบผสมผสาน คือ
       1. มีวัฒนธรรมดังเดิมเป็นของตนเอง
       2. รับเอาวัฒนธรรมอื่นจากภายนอกที่ได้ติดต่อสัมพันธ์กัน มาผสมผสานให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม

  วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคม มนุษย์เป็นผู้สร้างวัฒนธรรมขึ้นเพื่อสนองความต้องการ  ทางด้านปัจจัยสี่  ในการดำเนินชีวิตเพื่อความอยู่รอดและเป็นวิธีการแห่งการแก้ปัญหาพื้นฐาน ต่างๆของมนุษย์  ที่ทุกคนในสังคมต้องการแก้ไขเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด  วัฒนธรรมจึงกลายเป็นกฏเกณฑ์  ข้อบังคับ  หรือระเบียบ  ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์และเป็นมรดกสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษหนึ่งสู่อีก บรรพบุรุษหนึ่ง นอกจากนี้วัฒนธรรมมีลักษณะไม่อยู่นิ่ง  ไม่คงที่  มีการเปลี่ยนแปลง  ปรับปรุง  เลิกร้าง  สร้างสรรค์ขึ้นใหม่  เพราะมนุษย์มีการคิดค้นสิ่งใหม่ๆและปรับปรุงของเดิมให้เหมาะกับสถานการณ์ที่ เปลี่ยนแปลงไป
         วัฒนธรรมไทยมีรากฐานมาจากพุทธศาสนา  เป็นมรดกอันล้ำค่าของคนไทยทุกคนที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนไทย  ถือเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นชาติไทยที่แตกต่างจากชาติอื่น  มีลักษณะเฉพาะที่แสดงชี้ชัดถึงความเป็นไทย  เช่น  ภาษา  ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แสดงออกมาทางพิธีกรรม  ศิลปะแขนงต่างๆ  บุคลิกภาพของคนไทยที่รักสงบ  อ่อนน้อมถ่อมตน  มีน้ำใจ  จนได้รับความชื่นชมจากต่างชาติ  ถึงแม้วัฒนธรรมไทยจะมีการผสมผสานกับวัฒนธรรมต่างชาติตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน   แต่ก็ได้เลือกสรรเอาสิ่งที่ดีมาใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมไทย  ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาติที่มีพระมหากษัตริย์  ศาสนา  ศิลปกรรม  ภาษา  อาหาร  การแต่งกาย ฯลฯ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว 
 การสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย          วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ของคนไทย  โดยมีพื้นฐานจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ และอิทธิพลจากภายนอก  วัฒนธรรมนอกบางอย่างที่ไทยรับมานั้นได้ถูกนำมาดัดแปลงให้เข้ากับสภาพสังคม ไทย  จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทย  อย่างไรก็ดี  แม้ว่าวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยจะช่วยให้เราเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาไทยและช่วยกันอนุรักษ์และสืบทอดต่อไปในภายหน้า
  

 

หน่วยที่ 1 ภูมิปัญญาไทย

                                        
                                            ภูมิปัญญาไทย



      ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรู้ความสามารถ วิธีการผลงานที่คนไทยได้ค้นคว้า รวบรวม และจัดเป็นความรู้ ถ่ายทอด ปรับปรุง จากคนรุ่นหนึ่งมาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดผลิตผลที่ดี งดงาม มีคุณค่า มีประโยชน์ สามารถนำมาแก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตได้แต่ละหมู่บ้าน แต่ละชุมชนไทย ล้วนมีการทำมาหากินที่สอดคล้องกับภูมิประเทศ มีผู้นำที่มีความรู้ มีฝีมือทางช่าง สามารถคิดประดิษฐ์ ตัดสินใจแก้ปัญหาของชาวบ้านได้ ผู้นำเหล่านี้ เรียกว่า ปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ทรงภูมิปัญญาไทย

     ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
1. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเป็นทั้งความรู้ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม
2. ภูมิปัญญาไทยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ
3. ภูมิปัญญาไทยเป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิตของคน
4. ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว และการเรียนรู้ เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม
5. ภูมิปัญญาไทยเป็นพื้นฐานสำคัญในการมองชีวิต เป็นพื้นฐานความรู้ในเรื่องต่างๆ
6. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะ หรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง
7. ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคม

     คุณสมบัติของผู้ทรงภูมิปัญญาไทย
ผู้ทรงภูมิปัญญาไทยเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ อย่างน้อยดังต่อไปนี้

1. เป็นคนดีมีคุณธรรม มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพต่างๆ มีผลงานด้านการพัฒนาท้องถิ่นของตน และได้รับการยอมรับจากบุคคลทั่วไปอย่างกว้างขวาง ทั้งยังเป็นผู้ที่ใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนาของตนเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการดำรงวิถีชีวิตโดยตลอด
2. เป็นผู้คงแก่เรียนและหมั่นศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ผู้ทรงภูมิปัญญาจะเป็นผู้ที่หมั่นศึกษา แสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอไม่หยุดนิ่ง เรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบ เป็นผู้ลงมือทำโดยทดลองทำตามที่เรียนมา
3. เป็นผู้นำของท้องถิ่น ผู้ทรงภูมิปัญญาส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่สังคม ในแต่ละท้องถิ่นยอมรับให้เป็นผู้นำ ทั้งผู้นำที่ได้รับการแต่งตั้งจากทางราชการ และผู้นำตามธรรมชาติ ซึ่งสามารถเป็นผู้นำของท้องถิ่นและช่วยเหลือผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4. เป็นผู้ที่สนใจปัญหาของท้องถิ่น ผู้ทรงภูมิปัญญาล้วนเป็นผู้ที่สนใจปัญหาของท้องถิ่น เอาใจใส่ ศึกษาปัญหา หาทางแก้ไข และช่วยเหลือสมาชิกในชุมชนของตนและชุมชนใกล้เคียงอย่างไม่ย่อท้อ จนประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับของสมาชิกและบุคคลทั่วไป
5. เป็นผู้ขยันหมั่นเพียร ผู้ทรงภูมิปัญญาเป็นผู้ขยันหมั่นเพียร ลงมือทำงานและผลิตผลงานอยู่เสมอ ปรับปรุงและพัฒนาผลงานให้มีคุณภาพมากขึ้นอีกทั้งมุ่งทำงานของตนอย่างต่อเนื่อง
6. เป็นนักปกครองและประสานประโยชน์ของท้องถิ่น ผู้ทรงภูมิปัญญา นอกจากเป็นผู้ที่ประพฤติตนเป็นคนดี จนเป็นที่ยอมรับนับถือจากบุคคลทั่วไปแล้ว ผลงานที่ท่านทำยังถือว่ามีคุณค่า จึงเป็นผู้ที่มีทั้ง "ครองตน ครองคน และครองงาน"
7. มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้เป็นเลิศ เมื่อผู้ทรงภูมิปัญญามีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์เป็นเลิศ มีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและบุคคลทั่วไป ทั้งชาวบ้าน นักวิชาการ นักเรียน นิสิต/นักศึกษา โดยอาจเข้าไปศึกษาหาความรู้ หรือเชิญท่านเหล่านั้นไป เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ได้
8. เป็นผู้มีคู่ครองหรือบริวารดี ผู้ทรงภูมิปัญญา ถ้าเป็นคฤหัสถ์ จะพบว่า ล้วนมีคู่ครองที่ดีที่คอยสนับสนุน ช่วยเหลือ ให้กำลังใจ ให้ความร่วมมือในงานที่ท่านทำ ช่วยให้ผลิตผลงานที่มีคุณค่า ถ้าเป็นนักบวช ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใด ต้องมีบริวารที่ดี จึงจะสามารถผลิตผลงานที่มีคุณค่าทางศาสนาได้
9. เป็นผู้มีปัญญารอบรู้และเชี่ยวชาญจนได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์ ผู้ทรงภูมิปัญญา ต้องเป็นผู้มีปัญญารอบรู้และเชี่ยวชาญ รวมทั้งสร้างสรรค์ผลงานพิเศษใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ

     ภูมิปัญญาไทยสามารถจัดแบ่งได้กี่สาขา
จากการศึกษาพบว่า มีการกำหนดสาขาภูมิปัญญาไทยไว้อย่างหลากหลายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่หน่วยงาน องค์กร และนักวิชาการแต่ละท่านนำมากำหนด ในภาพรวมภูมิปัญญาไทยสามารถแบ่งได้เป็น 10 สาขาดังนี้

1. สาขาเกษตรกรรม หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะ และเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม ซึ่งคนสามารถพึ่งพาตนเองในภาวการณ์ต่างๆ ได้
2. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม หมายถึง การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลิตผล เพื่อชะลอการนำเข้าตลาด เพื่อแก้ปัญหาด้านการบริโภคอย่างปลอดภัย ประหยัด และเป็นธรรม อันเป็นกระบวนการที่ทำให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจได้
3. สาขาการแพทย์แผนไทย หมายถึง ความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้
4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งการอนุรักษ์ การพัฒนา และการใช้ประโยชน์จากคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
5. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการด้านการสะสมและบริการกองทุน และธุรกิจในชุมชน ทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์ เพื่อส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุม
6. สาขาสวัสดิการ หมายถึง ความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคน ให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
7. สาขาศิลปกรรม หมายถึง ความสามารถในการผลิตผลงานทางด้านศิลปะสาขาต่างๆ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ ศิลปะมวยไทย เป็นต้น
8. สาขาการจัดการองค์กร หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการดำเนินงานขององค์กรชุมชนต่างๆ ให้สามารถพัฒนา และบริหารองค์กรของตนเองได้ตามบทบาท และหน้าที่ขององค์การ เช่น การจัดการองค์กรของกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มประมงพื้นบ้าน เป็นต้น
9. สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึง ความสามารถผลิตผลงานเกี่ยวกับด้านภาษาทั้งภาษาถิ่น ภาษาโบราณ ภาษาไทยและการใช้ภาษา ตลอดทั้ง ด้านวรรณกรรมทุกประเภท เช่น การจัดทำสารานุกรมภาษาถิ่น การปริวรรต หนังสือโบราณ การฟื้นฟูการเรียนการสอนภาษาถิ่นของท้องถิ่นต่างๆ เป็นต้น
10. สาขาศาสนาและประเพณี หมายถึง ความสามารถประยุกต์และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนา ความเชื่อ และประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่าให้เหมาะสมต่อการประพฤติปฏิบัติ ให้บังเกิดผลดีต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม

     คุณค่าของภูมิปัญญาไทย
ทางด้านการสร้างความภาคภูมิใจและศักดิ์ศรี เกียรติภูมิแก่คนไทย

คนไทยในอดีตที่มีความสามารถปรากฏในประวัติศาสตร์มีมาก เป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศ เช่น นายขนมต้มเป็นนักมวยไทยที่มีฝีมือเก่งในการใช้อวัยวะทุกส่วน ทุกท่าของแม้ไม้มวยไทย สามารถชกมวยไทย จนชนะพม่าได้ถึงเก้าคนสิบคนในคราวเดียวกัน แม้ในปัจจุบันมวยไทยก็ยังถือว่า เป็นศิลปะชั้นเยี่ยม เป็นที่นิยมฝึก และแข่งขันในหมู่คนไทยและชาวต่างประเทศ ปัจจุบันมีค่ายมวยไทยทั่วโลกไม่ต่ำกว่า 30,000 แห่ง ชาวต่างประเทศที่ได้ฝึกมวยไทยจะรู้สึกยินดีและภาคภูมิใจ ในการที่จะใช้กติกาของมวยไทย เช่น การไหว้ครูมวยไทย การออกคำสั่งในการชกเป็นภาษาไทยทุกคำ เช่น คำว่า "ชก" "นับหนึ่งถึงสิบ" เป็นต้น ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาไทย นอกจากนี้ ภูมิปัญญาไทยที่โดดเด่นยังมีอีกมากมาย เช่น มรดกภูมิปัญญาทางภาษาและวรรณกรรม โดยที่มีอักษรไทยเป็นของตนเองมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และวิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน วรรณกรรมไทยถือว่าเป็น วรรณกรรมที่มีความไพเราะ ได้อรรถรสครบทุกด้าน วรรณกรรม หลายเรื่องได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา ด้านอาหาร อาหารไทยเป็นอาหารที่ปรุงง่าย พืชที่ใช้ประกอบอาหารส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและราคาถูก มีคุณค่าทางโภชนาการ และยังป้องกันโรคได้หลายโรค เพราะส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร เช่น ตะไคร้ ขิง ข่า กระชาย ใบมะกรูด ใบโหระพา ใบกะเพรา เป็นต้น